วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561

นานาสาระเกี่ยวกับ OpAmp

ในหัวข้อนี้ผมตั้งใจว่าจะนำข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ ออปแอมป์ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้เริ่มหัดทำเอฟเฟค หรือผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการ ดี ไอ วาย หรือดัดแปลงวงจรเล่นต่อไปครับ
อัตราการขยายของออปแอมป์
ในวงจรเอฟเฟคทั่วไปที่มีการนำออปแอมป์มาใช้งานขยายสัญญาณ
ส่วนใหญ่จะมีการจัดวงจรอยู่ 2 แบบคือ
1. แบบ Inverting
2. แบบ Non-Inverting
แบบ Inverting คือสัญญาณอินพุทจะป้อนเข้าที่ขั้วลบอินพุท สัญญาณเอ้าท์พุท และอินพุทจะต่างเฟสกัน 180 องศา   อัตราการขยายสามารถกำหนดได้จากค่า R2/R1
สมมุติอยากได้อัตราการขยาย =100 เท่า เราสามารถกำหนดค่า R1, R2 ได้เช่น
R2/R1 = 100K/1K  หรือ  500K/5K  เป็นต้น
แบบNon-Inverting คือ สัญญาณอินพุทจะป้อนเข้าที่ขั้วบวกอินพุท สัญญาณเอ้าท์พุท และอินพุทจะตรงเฟสกัน อัตราการขยายสามารถกำหนดได้จากค่า 1+R2/R1 หรือมากกว่าการต่อแบบ Inverting อยู่ 1
ท่านที่ต้องการ เพิ่มลดอัตราการขยายของวงจร สามารถทำได้ตามที่ต้องการ โดยการปรับค่า R1  R2 ตามหลักการข้างต้น ขอให้สนุกกับการ ดี ไอ วายครับ


วงจรกรองความถี่ 
ขอแนะนำวงจรกรองความถี่ที่ใช้งานบ่อยๆดังนี้

วงจร Low Pass Filter
เป็นวงจรที่ยอมให้ความถี่ต่ำกว่าความถี่คัทออฟ (Frequency Cutoff) ผ่านไปได้ โดยวัดเมื่ออัตราการขยายลดลง 3dB
สูตรคำนวณ
Fc = 1/2*π*R*C
เมื่อ π = 3.14
R = หน่วยเป็น M ohm
C = หน่วยเป็น uF

วงจร High Pass Filter
เป็นวงจรที่ยอมให้ความถี่สูงกว่าความถี่คัทออฟ (Frequency Cutoff) ผ่านไปได้ โดยวัดเมื่ออัตราการขยายลดลง 3dB
Fc = 1/2*π*R*C

วงจร Band Pass Filter เป็นวงจรที่ยอมให้ความถี่ช่วงหนึ่งๆผ่านไปได้ เป็นการผสมระหว่างวงจร Low Pass Filter และ High Pass Filter เข้าด้วยกัน

จากรูปจะเห็นว่าเป็นการประยุกต์ใช้ออปแอมป์ร่วมกับวงจร RC เป็นวงจรกรองความถี่แบบต่างๆ (Active Filter) ซึ่งเรามักจะเห็นกันใช้อยู่มากในวงจรเอฟเฟคทั่วไป
กรณีที่ท่านอยากดัดแปลงหรือปรับแต่งความถี่ที่ใช้งาน สามารถปรับเปลี่ยนค่า RC  โดยใช้สูตรคำนวณข้างต้น (การปรับค่า R มีผลต่ออัตราการขยายของวงจร)
หรือใช้โปรแกรมช่วยคำนวณที่นี่
http://www.muzique.com/schem/filter.htm
ขอให้สนุกกับการ ดี ไอ วาย ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น