ทุกบ้านจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ากันอยู่แล้วใช่ไหมคะ และทุกบ้านก็ต้องมีหลอดไฟไม่ว่าจะเป็นหลอดอ้วน หลอดผอม หลอดตะเกียบ หลอดฟลูออเรสเซนอต์ หรือหลอดไส้ แล้วอย่างนี้เราจะใช้อย่างไรให้ประหยัด และ ปลอดภัย ลองมาดูกันนะคะ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการขึ้นค่าไฟค่ะ | |||
ข้อแนะนำการใช้งาน 1.ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลอดนีออน" ลักษณะเป็นหลอดยาวมีขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ หรือชนิดขดเป็นวงกลมมีขนาด 32 วัตต์ (หลอดชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4-5 เท่า ถ้าใช้ปริมาณไฟฟ้าขนาดเท่ากัน อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า) 2.หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดพิเศษ (หลอดซุปเปอร์) เป็นหลอดที่กินไฟเท่ากบหลอดผอมแต่ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดทั่ว ๆ ไป เช่น หลอดผอมธรรมดาขนาด 36 วัตต์ จะให้ความสว่างประมาณ 2,600 ลูเมน (Im) แต่ หลอดซุปเปอร์ให้ความสว่างถึง 3,300 ลูเมน (Im) ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนหลอดที่ ใช้ลงได้ 3.หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ) หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้แทนหลอดไส้ได้ มีอายุการใช้งนมากกว่าหลอดไส้ 8-10 เท่า และใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้ โดยจะประหยัดไฟได้ 75-80% (เนื่องจากอายุของหลอดขึ้นอยู่กับสภาพการติดตั้ง เช่น การระบายความร้อนและแรงดันไฟฟ้าด้วย) ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ 3.1หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ย่อขนาดลง มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์รวมอยู่ภายในหลอด สามารถนำไปใช้แทนหลอดไส้ชนิดหลอดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใดๆ มีอยู่หลายขนาด คือ 9W, 11W, 13W, 15W, 18W, 20W ตัวอย่างเปรียบเทียบกับหลอดไส้ธรรมดา เป็นดังนี้ | |||
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน 3.2หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก หลักกการใช้งานเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอกสามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่ายเมื่อหลอดชำรุด ตัวหลอดมีลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู (U) ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์อยุ่ภายใน และมีบัลลาสต์อยู่ภายนอกมีหลายขนาด คือ หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก | |||
ข้อควรปฎิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง มีดังนี้ 1.ปิดสวิตช์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน 2.ในบริเวณที่ไม่จำเป็นต้องใ้ช้แสงสว่างมากนัก เช่น เฉลียง ทางเดิน ห้องน้ำ ควรใช้หลอดที่มีวัตต์ต่ำ โดยอาจใช้หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน เนื่องจากมีประสิทธิภาพการใช้แสง ลูเมน/วัตต์ (Im/W) สูงกว่าหลอดไส้ และดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดไม่เกิน 18 W ด้วย สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างปกตินั้น หลอดผอมขนาด 36 W จะมีประสิทธิภาพการให้แสง (ลูเมนวัตต์) สูงกว่าหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในทั่วๆ ไปไม่ต่ำกว่า 10% และยิ่งจะมีประสิทธิภาพการให้แสงมากขึ้นถ้าเป็นหลอดผอมชนิดซุปเปอร์และใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟร่วมด้วย ดังนั้นจำนวนหลอดไฟที่ใช้และการกินไฟของหลอดผอมก็จะน้อยกว่าหลอดประหยัดไฟ 3.หมั่นทำความสะอาด ขั้วหลอดและตัวหลอดไฟ รวมทั้งโคมไฟและโป๊ะไฟต่างๆ 4.ผนังห้องหรือเฟอร์นิเจอร์อย่างใช้สีคล้ำๆ ทึบๆ เพราะสีพวกนี้จะดูดแสง ทำให้ห้องดูมืดกว่าห้องที่ทาสีอ่อนๆ เช่น สีขาว หรือสีนวล 5.เลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นสะท้องแสงทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบโลหะเงิน จะสามารถลดจำนวนหลอดไฟลงได้ โดยแสงสว่่างยังคงเท่าเดิม 6.เลือกใช้ไฟตั้งโต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะแห่ง เช่น อ่านหนังสือ 7.ให้ใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้าควบคู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยบัลลาสต์ประหยัดไฟมี 2 แบบ คือ 7.1แบบแกนเหล็กประหยัดไฟฟ้า (LOW LOSS MAGNETIC BALLAST) 7.2แบบอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC BALLAST) 8.ในการเลือกซื้อหลอดไฟ โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ให้สังเกตปริมาณการส่งสว่าง (ลูเมน หรือ Im) ที่กล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีราคาแต่กต่างกัน เ่ช่น หลอดผอม 36 หรือ 40 วัตต์จะให้แสงประมาณ 2,000 - 2,600 ลูเมน หลอดชนิดซุปเปอร์จะให้แสง 3,300 ลูเมน หลอดประหยัดไฟขนาด 11 วัตต์ (หลอดคอมแพคขนาด 11 วัตต์ หรือหลอดตะเกียบ) จะให้แสงประมาณ 500-600 ลูเมน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการกินไฟภายในบัลลาสต์ด้วย ซึ่งบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟมาก ส่วนบัลลาสต์อิเล้กทรอนิกส์จะกินไฟน้อยมาก ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า - บัลลาสต์ธรรมดากินไฟ ประมาณ 10-12 วัตต์ บัลลาสต์ประหยัดไฟกินไฟประมาณ 3-6 วัตต์ - บัลลาสต์ธรรมดามีประสิทธิผลการส่งสว่าง 95-110% บัลลาสต์ประหยัดไฟมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่าง 95-150% - การใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอุณหภูมิขณะไม่เกิน 75 องศา เซลเซียส ในขณะที่บัลลสาต์ธรรมดามีความร้อนจากขดลวดและแกนเห็กถึง 110-120 องศาเซลเซียส - บัลลาสต์ประหยัดไฟมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบธรรมดา 1 เท่าตัว แม้ราคาจะสูงกว่าบัลลาสต์แบบธรรมดา คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง 1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควรดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น 2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามีกลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่่าหรือไม่ 3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ 4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด 5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า 6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที 7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น 8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่ 9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้นอาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแลอยู่ใกล้ๆ 10.ดูข้อความปฎิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย |
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เลือกหลอดไฟ อย่างไรให้ประหยัด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
1. มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า มีความสำคัญยิ่ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยคงทนถาวรและเพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในระบบให้ยาวนานยิ่งขึ้น การติดตั้งระบบไฟฟ้ามีมาตรฐานกำหนดที่แน่นอนและมีหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานสามคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วนงานจากต่างประเทศที่ประเทศไทยนำมายึดถือ เช่น National Electric Code (NEC) Amarican National Standard Institute (ANSI) International Electrotechical Commission (IEC) เป็นต้น และหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คือ สำนักผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่รู้จักกันในชื่อ มอก.
2. ศัพท์เฉพาะหรือคำจำกัดความ ด้านระบบไฟฟ้าที่ควรรู้
2.1 ระบบไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน 1,000 โวลท์
2.2 ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์
2.3 โวลท์ (Volt.) คือหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า
2.4 แอมแปร์ (Amp.) คือหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า
2.5 วัตต์ (Watt.) คือหน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง
2.6 หน่วย (Unit) คือหน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ต่อชั่วโมง มีอุปกรณ์ที่ใช้วัด คือกิโลวัตต์ฮอร์มิเตอร์ (Kwh.)
3. ระบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่นำมาใช้โดยแยกออกดังนี้
3.1 ระบบ 1 เฟส จะมี 2 สายในระบบประกอบด้วยสาย LINE (มีไฟ) 1 เส้น และสาย Neutral (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้า 220-230 โวลท์ มีความถี่ 50
เฮิร์ซ (Hz)
3.2 ระบบ 3 เฟส จะมี 4 สายในระบบประกอบด้วยสาย LINE (มีไฟ) 3 เส้น และสายนิวตรอน (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ LINE
380-400 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ Neutral 200-230 โวลท์ และมีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) เช่นเดียวกัน
3.3 สายดิน หรือ GROUND มีทั้ง 2 ระบบ ติดตั้งเข้าไปในระบบเพื่อความปลอดภัยของระบบ สายดินจะต้องต่อเข้ากับพื้นโลกตามมาตรฐานกำหนด
4. Power Factor
คืออัตราส่วน ระหว่างกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง (วัตต์) กับ กำลังไฟฟ้าปรากฎ หรือกำลังไฟฟ้าเสมือน (VA) ซึ่งค่าที่ดีที่สุดคือ มีอัตราส่วนที่เท่ากันจะมีค่าเป็นหนึ่ง แต่ในทางเป็นจริงไม่สามารถทำได้ ซึ่งค่า Power Factor เปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ LOAD ซึ่ง Load ทางไฟฟ้ามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Load ประเภท Resistive หรือ ความต้าน จะมีค่า Power Factor เป็นหนึ่ง อันได้แก่ หลอดไฟฟ้าแบบไส้ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ถ้าหน่วยงานหรือองค์กร มี Load ประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor
2. Load ประเภท Inductive หรือ ความเหนี่ยวนำ จะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่งอันได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ขดลวด เช่น มอเตอร์ บาลาสก์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดแกสดิสชาร์จ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยง Load ประเภทนี่้ไม่ได้ และมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง และ Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor ล้าหลัง (Lagging) จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor โดยการนำ Load ประเภทให้ค่า Power Factor นำหน้า (Leading) มาต่อเข้าในวงจรไฟฟ้าของระบบ เช่น การต่อชุด Capacitor Bank เข้าไปในชุดควบคุมไฟฟ้า
3. Load ประเภท Capacitive หรือ Load ที่มีตัวเก็บประจุ (Capacitor) เป็นองค์ประกอบ Load ประเภทนี้จะมีใช้น้อยมากจะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึง Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor นำหน้า (Leading) คือกระแสจะนำหน้าแรงดัน จึงนิยมนำ Load ประเภทนี้มาปรับปรุง Power Factor ของระบบที่มีค่า Power Factor ล้าหลังเพื่อให้ค่า Power Factor มีค่าใกล้เคียงหนึ่ง
ข้อดีของการปรับปรุงค่า Power Factor
- กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้าลดลง
- หม้อแปลงและสายเมนไฟฟ้าสามารถรับ Load เพื่อได้มากขึ้น
- ลดกำลังงานสูญเสียในสายไฟฟ้าลง
- ลดแรงดันไฟฟ้าตก
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าทั้งระบบ
5. ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในปัจจุบัน คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปจำหน่าย การไฟฟ้านครหลวงจะจำหน่ายไฟฟ้าให้ กทม.และปริมณฑล ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะจำหน่ายไฟฟ้าให้กับต่างจังหวัดของทุกภาคในประเทศ ระบบไฟฟ้าในภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า แล้วแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงถึง 230 กิโลโวลท์ (KV.) แล้วส่งไปตามเมืองต่างๆ เข้าที่สถานีไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สถานีไฟฟ้าย่อยจะปรับลดแรงดันไฟฟ้าเหลือ 33 กิโลโวลท์ แล้วจ่ายเข้าในตัวเมืองและผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดตั้งหม้อแปลง เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าให้เป็นแรงต่ำเพื่อนำมาใช้งานต่อไป
กำลังไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้ามีด้วยกัน 3 อย่างคือ
- กำลังไฟฟ้าจริงมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt)
- กำลังไฟฟ้าแฝงมีหน่วยเป็นวาร์ (VAR)
- กำลังไฟฟ้าปรากฎมหน่วยเป็นโวลท์แอมป์ (VA)
6. หม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้งานบางอย่างต้องการใช้แรงดันสูง เช่น การส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ามายังสถานีย่อย ต้องใช้หม้อแปลงแรงไฟฟ้าแรงสูง แต่การใช้ในบ้านเรือน หรือ โรงงานต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งหม้อแปลงมีหลายชนิดหลายขนาด เลือกใช้ตามความหมาะสมของงาน
7. ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
- MDB. (Main distribution board) เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร
- SDB. (Sub distribution board) เป็นตู้ควบคุมย่อยจ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามตู้ PB. หรือ Load Center หลายๆ ตู้ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคาร
- PB (Panel board) หรือ Load Center เป็นแผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนของ
Load
8. การต่อลงดิน
การต่อลงดิน คือการใช้ตัวนำทางไฟฟ้า ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อเข้ากับพื้นโลกอย่างมั่นคง ถาวรการต่อลงดินมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอันตรายที่อาจจะเกิดกับบุคคล และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า
หน้าที่หลักของสายดิน มีอยู่ 2 ประการคือ 1. เมื่อเกิดแรงดันเกิน จะจำกัดแรงดันไฟฟ้าของวงจร ไม่ให้สูงจนอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายและลดแรงดันไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นที่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือส่วนแระกอบ เนื่องจากการรั่วหรือการเหนี่ยวนำเพื่อลดอันตรายจากบุคคลไปสัมผัส
2. เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน จะช่วยลดความเสียหายของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้า การต่อลงดินที่ถูกต้องจะช่วยให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ป้องกันทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้
ชนิดของการต่อลงดิน มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (System Grounding)
2. การต่อลงดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (Equipment Grounding)
3. การต่อลงดินของระบบป้องกันผ้าผ่า (Lightning Grounding)
9. ระบบป้องกันฟ้าผ่า
เป็นระบบที่ต้องมีในระบบไฟฟ้าโดยมาตรฐานการติดตั้งเป็นตัวบังค้บ ประเทศไทยใช้มาตรฐานของ IEC เป็นหลักระบบป้องกันฟ้าผ่าจะประกอบด้วย ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคาร และระบบป้องกันฟ้าผ่าภายในอาคาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากฟ้าผ่า
10. อุปกรณ์ตัดตอน หรืออุปกรณ์ปลดวงจร
อุปกรณ์ตัดตอนหรืออุปกรณ์ปลดวงจร มีหน้าที่ตัดตอนวงจรไฟฟ้าออกยามไม่ต้องการใช้มีกระแสไฟฟ้าไหลในระบบ เช่น การซ่อมแซมและเพื่อป้องกันอันตรายต่อระบบอันเนื่องมาจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดหรือเกิดการลัดวงจรอุปกรณ์ตัดตอน ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ ฟิวส์และเซอร์กิตเบรคเกอร์ (CB.) แต่การใช้งานและการออกแบบติดตั้งต้องใช้ขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมกับงาน มิฉะนั้นอุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้ เช่น การเลือกขนาด CB สูงเกินไป เมื่อเกิดปัญหาหรือกระแสไหลเกินพิกัดของสาย จะทำใช้อุปกรณ์จะไม่ตัดวงจรและเกิดความเสียหายเกิดขึ้นตามมา เช่น สายไหม้หรืออันตรายต่อหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น
1. มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า มีความสำคัญยิ่ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยคงทนถาวรและเพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในระบบให้ยาวนานยิ่งขึ้น การติดตั้งระบบไฟฟ้ามีมาตรฐานกำหนดที่แน่นอนและมีหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานสามคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วนงานจากต่างประเทศที่ประเทศไทยนำมายึดถือ เช่น National Electric Code (NEC) Amarican National Standard Institute (ANSI) International Electrotechical Commission (IEC) เป็นต้น และหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คือ สำนักผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่รู้จักกันในชื่อ มอก.
2. ศัพท์เฉพาะหรือคำจำกัดความ ด้านระบบไฟฟ้าที่ควรรู้
2.1 ระบบไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน 1,000 โวลท์
2.2 ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์
2.3 โวลท์ (Volt.) คือหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า
2.4 แอมแปร์ (Amp.) คือหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า
2.5 วัตต์ (Watt.) คือหน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง
2.6 หน่วย (Unit) คือหน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ต่อชั่วโมง มีอุปกรณ์ที่ใช้วัด คือกิโลวัตต์ฮอร์มิเตอร์ (Kwh.)
3. ระบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่นำมาใช้โดยแยกออกดังนี้
3.1 ระบบ 1 เฟส จะมี 2 สายในระบบประกอบด้วยสาย LINE (มีไฟ) 1 เส้น และสาย Neutral (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้า 220-230 โวลท์ มีความถี่ 50
เฮิร์ซ (Hz)
3.2 ระบบ 3 เฟส จะมี 4 สายในระบบประกอบด้วยสาย LINE (มีไฟ) 3 เส้น และสายนิวตรอน (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ LINE
380-400 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ Neutral 200-230 โวลท์ และมีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) เช่นเดียวกัน
3.3 สายดิน หรือ GROUND มีทั้ง 2 ระบบ ติดตั้งเข้าไปในระบบเพื่อความปลอดภัยของระบบ สายดินจะต้องต่อเข้ากับพื้นโลกตามมาตรฐานกำหนด
4. Power Factor
คืออัตราส่วน ระหว่างกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง (วัตต์) กับ กำลังไฟฟ้าปรากฎ หรือกำลังไฟฟ้าเสมือน (VA) ซึ่งค่าที่ดีที่สุดคือ มีอัตราส่วนที่เท่ากันจะมีค่าเป็นหนึ่ง แต่ในทางเป็นจริงไม่สามารถทำได้ ซึ่งค่า Power Factor เปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ LOAD ซึ่ง Load ทางไฟฟ้ามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Load ประเภท Resistive หรือ ความต้าน จะมีค่า Power Factor เป็นหนึ่ง อันได้แก่ หลอดไฟฟ้าแบบไส้ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ถ้าหน่วยงานหรือองค์กร มี Load ประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor
2. Load ประเภท Inductive หรือ ความเหนี่ยวนำ จะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่งอันได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ขดลวด เช่น มอเตอร์ บาลาสก์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดแกสดิสชาร์จ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยง Load ประเภทนี่้ไม่ได้ และมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง และ Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor ล้าหลัง (Lagging) จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor โดยการนำ Load ประเภทให้ค่า Power Factor นำหน้า (Leading) มาต่อเข้าในวงจรไฟฟ้าของระบบ เช่น การต่อชุด Capacitor Bank เข้าไปในชุดควบคุมไฟฟ้า
3. Load ประเภท Capacitive หรือ Load ที่มีตัวเก็บประจุ (Capacitor) เป็นองค์ประกอบ Load ประเภทนี้จะมีใช้น้อยมากจะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึง Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor นำหน้า (Leading) คือกระแสจะนำหน้าแรงดัน จึงนิยมนำ Load ประเภทนี้มาปรับปรุง Power Factor ของระบบที่มีค่า Power Factor ล้าหลังเพื่อให้ค่า Power Factor มีค่าใกล้เคียงหนึ่ง
ข้อดีของการปรับปรุงค่า Power Factor
- กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้าลดลง
- หม้อแปลงและสายเมนไฟฟ้าสามารถรับ Load เพื่อได้มากขึ้น
- ลดกำลังงานสูญเสียในสายไฟฟ้าลง
- ลดแรงดันไฟฟ้าตก
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าทั้งระบบ
5. ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในปัจจุบัน คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปจำหน่าย การไฟฟ้านครหลวงจะจำหน่ายไฟฟ้าให้ กทม.และปริมณฑล ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะจำหน่ายไฟฟ้าให้กับต่างจังหวัดของทุกภาคในประเทศ ระบบไฟฟ้าในภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า แล้วแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงถึง 230 กิโลโวลท์ (KV.) แล้วส่งไปตามเมืองต่างๆ เข้าที่สถานีไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สถานีไฟฟ้าย่อยจะปรับลดแรงดันไฟฟ้าเหลือ 33 กิโลโวลท์ แล้วจ่ายเข้าในตัวเมืองและผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดตั้งหม้อแปลง เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าให้เป็นแรงต่ำเพื่อนำมาใช้งานต่อไป
กำลังไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้ามีด้วยกัน 3 อย่างคือ
- กำลังไฟฟ้าจริงมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt)
- กำลังไฟฟ้าแฝงมีหน่วยเป็นวาร์ (VAR)
- กำลังไฟฟ้าปรากฎมหน่วยเป็นโวลท์แอมป์ (VA)
6. หม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้งานบางอย่างต้องการใช้แรงดันสูง เช่น การส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ามายังสถานีย่อย ต้องใช้หม้อแปลงแรงไฟฟ้าแรงสูง แต่การใช้ในบ้านเรือน หรือ โรงงานต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งหม้อแปลงมีหลายชนิดหลายขนาด เลือกใช้ตามความหมาะสมของงาน
7. ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
- MDB. (Main distribution board) เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร
- SDB. (Sub distribution board) เป็นตู้ควบคุมย่อยจ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามตู้ PB. หรือ Load Center หลายๆ ตู้ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคาร
- PB (Panel board) หรือ Load Center เป็นแผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนของ
Load
8. การต่อลงดิน
การต่อลงดิน คือการใช้ตัวนำทางไฟฟ้า ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อเข้ากับพื้นโลกอย่างมั่นคง ถาวรการต่อลงดินมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอันตรายที่อาจจะเกิดกับบุคคล และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า
หน้าที่หลักของสายดิน มีอยู่ 2 ประการคือ 1. เมื่อเกิดแรงดันเกิน จะจำกัดแรงดันไฟฟ้าของวงจร ไม่ให้สูงจนอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายและลดแรงดันไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นที่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือส่วนแระกอบ เนื่องจากการรั่วหรือการเหนี่ยวนำเพื่อลดอันตรายจากบุคคลไปสัมผัส
2. เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน จะช่วยลดความเสียหายของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้า การต่อลงดินที่ถูกต้องจะช่วยให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ป้องกันทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้
ชนิดของการต่อลงดิน มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (System Grounding)
2. การต่อลงดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (Equipment Grounding)
3. การต่อลงดินของระบบป้องกันผ้าผ่า (Lightning Grounding)
9. ระบบป้องกันฟ้าผ่า
เป็นระบบที่ต้องมีในระบบไฟฟ้าโดยมาตรฐานการติดตั้งเป็นตัวบังค้บ ประเทศไทยใช้มาตรฐานของ IEC เป็นหลักระบบป้องกันฟ้าผ่าจะประกอบด้วย ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคาร และระบบป้องกันฟ้าผ่าภายในอาคาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากฟ้าผ่า
10. อุปกรณ์ตัดตอน หรืออุปกรณ์ปลดวงจร
อุปกรณ์ตัดตอนหรืออุปกรณ์ปลดวงจร มีหน้าที่ตัดตอนวงจรไฟฟ้าออกยามไม่ต้องการใช้มีกระแสไฟฟ้าไหลในระบบ เช่น การซ่อมแซมและเพื่อป้องกันอันตรายต่อระบบอันเนื่องมาจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดหรือเกิดการลัดวงจรอุปกรณ์ตัดตอน ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ ฟิวส์และเซอร์กิตเบรคเกอร์ (CB.) แต่การใช้งานและการออกแบบติดตั้งต้องใช้ขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมกับงาน มิฉะนั้นอุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้ เช่น การเลือกขนาด CB สูงเกินไป เมื่อเกิดปัญหาหรือกระแสไหลเกินพิกัดของสาย จะทำใช้อุปกรณ์จะไม่ตัดวงจรและเกิดความเสียหายเกิดขึ้นตามมา เช่น สายไหม้หรืออันตรายต่อหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น
การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลไฟฟ้า
ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ว่ามอเตอร์ตัวนั้นทำหน้าที่อะไรและมีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตมากน้อยเพียงใด และหลายท่านคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าในการบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้านั้นจำเป็นจะต้องทำการวัดค่าความเป็นฉนวนของขดลวดมอเตอร์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทราบถึงสภาพของฉนวนไฟฟ้าว่ายังคงสภาพใช้งานได้อยู่หรือไม่ แต่หลายท่านอาจจะลืมนึกไปว่าขณะที่ทำการวัดค่าความเป็นฉนวนของขดลวดมอเตอร์นั้นอุณหภูมิของฉนวนไฟฟ้ามีค่าไม่เท่ากันนั้นมีผลอย่างไรต่อค่าความเป็นฉนวนของขดลวดมอเตอร์ที่ท่านวัดได้
ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการนำเสนอวิธีการปรับปรุงค่าความเป็นฉนวนของขดลวดมอเตอร์ที่ท่านวัดได้ ณ ที่อุณหภูมิรอบข้างบริเวณมอเตอร์ที่ต้องการวัดมีความแตกต่างกัน โดยจะทำการปรับค่าอุณหภูมิดังกล่าวให้อยู่ที่อุณหภูมิอ้างอิงค่าเดียวกันซึ่งปกติแล้วการออกแบบค่าความเป็นฉนวนของขดลวดมอเตอร์จะออกแบบสภาพการที่งานที่อุณหภูมิอ้างอิงอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส
การปรับปรุงค่าความเป็นฉนวนของขดลวดมอเตอร์
ท่านคงทราบดีแล้วว่าฉนวนของสายไฟฟ้าหรือขดลวดมอเตอร์ก็ตาม ถ้าหากมีการใช้งานที่อุณหภูมิสูงว่าพิกัดของฉนวนก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงอย่างรวดเร็ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมอเตอร์ไฟฟ้าถ้าหากมีการใช้งานหนักและเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิใช้งานปกติเพียง 10 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้มอเตอร์นั้นมีอายุการใช้งานสั้นลงครึ่งหนึ่งของอายุการใช้งานที่ออกแบบไว้เลยทีเดียว
รูปที่ 1 แสดงกราฟที่ได้อ้างอิงจากผลการทดลอง ซึ่งจะเป็นการประมาณค่าความต้านทานของขดลวดเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 องศาเซลเซียสของอุณหภูมิขดลวดมีค่าสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ลดทุก ๆ 10 องศาเซลเซียสเมื่อมีอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยกราฟดังกล่าวจะสร้างจากสมการที่ 1 เมื่อ H =10 โดยสมการที่ 1 นั้นจะเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ของกฎ “The half-life rule”
H = ค่า Halving (๐C)
T = ค่าอุณหภูมิจริงของขดลวด (๐C)
ค่า Halving (H) สำหรับฉนวนที่ได้ผลิตนานมาแล้วนั้นจะใช้ค่าเท่ากับ 10 ๐C แต่สำหรับค่า Halving ของฉนวนใหม่ ๆ บางแบบอาจจะใช้ค่าอยู่ระหว่าง H= 5 ๐C ถึง 20 ๐C แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราไม่ทราบคุณสมบัติระหว่างค่าอุณหภูมิกับความต้านทานแล้ว ท่านสามารถใช้กราฟในรูปที่ 1 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้เพื่อประมาณการได้
ค่าที่ได้รับการปรับปรุงจะได้จากผลคูณระหว่างค่าความต้านทานของฉนวนที่อ่านได้กับค่าปรับปรุงจากรูปที่ 1 หรือจากสมการที่ 1 ดังแสดงต่อไปนี้
RT = ค่าความเป็นฉนวน ที่วัดค่าได้ที่ T ๐C (M)
รูปที่ 1 ค่าปรับปรุงอุณหภูมิของค่าความต้านทานของฉนวนเมื่อค่า Halving = 10 ๐C
ตัวอย่างที่ 1เมื่อได้ทำการวัดค่าความต้านฉนวนของ DC มอเตอร์ มีค่าเท่ากับ 20 M? ที่อุณหภูมิ 60 ๐C ถ้าต้องการจะหา
1) ค่าปรับปรุง
2) ค่าความต้านทานของฉนวนที่ได้รับการปรับปรุงไปที่ 40 ๐C
วิธีคำนวณ
เมื่อไม่มีข้อมูลคุณสมบัติระหว่างค่าอุณหภูมิกับความต้านทาน ดังนั้นจึงให้ค่า Halving (H) =10 หรือใช้กราฟรูปที่ 1
1) ค่าปรับปรุงที่หาได้จาก รูปที่ 1 มีค่าเท่ากับ 4
2) ดังนั้น
รูปที่ 2 ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงค่าความต้านทานของฉนวนให้อยู่ที่อุณหภูมิอ้างอิงเดียวกัน Curve A เป็นค่าที่ยังไม่มีการปรับปรุงและ Curve B จะเป็นกราฟที่ได้ปรับปรุงให้มีค่าไปอยู่ที่ 40 ๐C แล้ว ซึ่งการแปรปรวนของค่าความต้านทานของฉนวนที่ยังไม่มีการปรับปรุงนั้นจะทำให้ท่านนำค่าดังกล่าวไปวิเคราะห์แนวโน้มการเสื่อมสภาพของฉนวนผิดพลาด แต่ในทางตรงกันข้ามเราจะเห็นได้ว่ากราฟที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว จะมีแนวโน้มในการเปลี่ยนสภาพไปอย่างช้าตามเวลาหรืออายุการใช้งาน
รูปที่ 2 ค่าความต้านทานของฉนวนก่อนและหลังปรับปรุงให้อยู่ที่อุณหภูมิอ้างอิง
ตัวอย่างที่ 2 สมมุติให้ค่าความเป็นฉนวนของตัวอย่างที่ 1 มีค่า Halving (H) =15 ๐C ดังนั้นให้หา
1) ค่าปรับปรุง
2) ค่าความต้านทานของฉนวนที่ได้รับการปรับปรุงไปที่ 40 ๐C
วิธีคำนวณ
สรุป
จากที่ได้อธิบายข้างต้นผู้เขียนหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้นำวิธีการข้างต้นไปใช้เป็นแนวทางเพื่อวิเคราะห์หาการเสื่อมสภาพของฉนวนที่แท้จริงได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถวางแผนการบำรุงรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตเนื่องจากสาเหตุฉนวนของมอเตอร์เสื่อมสภาพได้ สวัสดีครับ
การออกแบบระบบไฟฟ้า
การออกแบบระบบไฟฟ้า
1. วงจรย่อย
1.1 ขอบเขต
ให้ใช้เฉพาะกับวงจรแสงสว่างหรือเครื่องใ้ช้ไฟฟ้า หรือทั้ง 2 อย่าง รวมกันเท่านั้น
1.2 ข้อกำหนดของวงจรย่อย
(1) สายวงจรย่อยต้องมีขนาดเพียงพอที่จะจ่ายโหลด และมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.50 ตารางมิลลิเมตร
(2) วงจรย่อยทุกวงจรต้องมีเครื่องป้องกันกระแสเกิน เพื่อตัดวงจรเมื่อเกิดการลัดวงจรหรือใช้ไฟฟ้าเกินขนาด
(3) ขนาดของวงจรย่อยกำหนดตามขนาดมาตรฐานของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ป้องกันวงจรย่อยนั้นๆ เช่น 5 10 15 20 30 หรือ 50 แอมแปร์
(4) วงจรย่อยซึ่งมีจุดต่อทางไฟฟ้าตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปต้องมีโหลดดังต่อไปนี้
ก. วงจรย่อยขนาด 5 10 15 และ 20 แอมแปร์ โหลดที่ติดตั้งถาวรรวมกันแล้วจุต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของขนาดวงจรย่อย เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องใช้
ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบ โหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้เต้าเสียบแต่ละเครื่องจะต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย
ข. วงจรย่อยขนาด 30 แอมแปร์ ให้ใช้กับดวงโคมไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรขนาดชุดละไม่ต่ำกว่า 660 วัตต์ หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งไม่ใช่ดวงโคมโหลด
ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบแต่ละเครื่องจะต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย
ค. วงจรย่อยขนาด 40 และ 50 แอมแปร์ ให้ใช้กับดวงโคมไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรขนาดชุดละไม่ต่ำกว่า 660 วัตต์ หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร
(5) โหลดของวงจรย่อยต้องคำนวณตามที่กำหนดดังต่อไปนี้
ก. โหลดต่อเนื่องของวงจรย่อยต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย ยกเว้น ชุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ได้ออกแบบให้ใช้งานได้ร้อยละ
100 ยอมให้โหลดต่อเนื่อง ของวงจรย่อยใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของขนาดวงจรย่อย
2. สายป้อน
(1) สายป้อนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะจ่ายโหลดให้วงจรย่อยได้ไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดในวงจรย่อยและมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร
(2) การคำนวณขนาดของสายป้อน ให้ใช้ดีมานต์แฟคเตอร์ตาม ตารางที่ 4-1, ตารางที่ 4-2, และ ตารางที่ 4-3 ช่วยคำนวณ
(3) สำหรับเต้ารับใช้เฉพาะงาน ให้คิดโหลดจากขนาดของเต้ารับที่มีขนาดสูงสุด รวมกับร้อยละ 75 ของขนาดเต้ารับที่เหลือ
3. สายนิวตรอล
(1) ต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรับกระแสโหลดไม่สมดุลย์สูงสุดและกระแสอาร์โมนิกส์ได้
(2) ในระบบ 3 เฟส 4 สาย กระแสโหลดไม่สมดุลย์สูงสุด คำนวณจากผลรวมของโหลด 1 เฟส ที่ต่ออยู่ระหว่างสายนิวตรอลกับสายเฟสใดเฟสหนึ่ง ที่มีค่า
รวมกันมากที่สุด
(3) ยอมให้ลดส่วนของกระแสโหลดไม่สมดุลย์ที่เกิน 200 แอมป์ ร้อยละ 30 ยกเว้น ในกรณีที่โหลดเป็นหลอดชนิดปล่อยประจุ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง
ประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องอุปกรณ์อื่นที่คล้ายกันที่รับไฟจากระบบ 3 เฟส 4 สาย แบบวาย
4. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อยและสายป้อนวงจรย่อยและสายป้อนต้องมีการป้องกันแระแสเกินเครื่องป้องกันกระแสเกินมีรายละเอียด ดังนี้
(1) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องสามารถป้องกันตัวนำทุกสายเส้นไฟ ยกเว้น ตัวนำที่มีการต่อลงดิน
(2) ขนาดของเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องไม่่น้อยกว่าโหลดไม่ต่อเนื่องบวกด้วยร้อยละ 125 ของโหลดต่อเนื่อง และต้องมีขนาดไม่เกินขนาดกระแสของ
สายไฟฟ้าเป็นไปตาม ตารางที่ 6-2
(3) เครื่องป้องกันกระแสเกินอาจเป็นฟิวส์ หรือสวิทช์อัตโนมัติก็ได้
(4) ฟิวส์ สวิทช์อัตโนมัติหรือการผสมของทั้งสองอย่างนี้ จะนำมาต่อขนานกันไม่ได้ ยกเว้น เป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐานที่ประกอบสำเร็จมาจากโรงงานผู้ผลิต
และเป็นแบบที่ได้รับความเห็นชอบว่าเป็นหน่วย (Unit) เดียวกัน
(5) ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกินเพิ่มเติมสำหรับดวงโคมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออื่นๆ เครื่องป้องกันกระแสเกินเพิ่มเติมเหล่านี้จะใช้แทนเครื่องป้องกัน
กระแสเกินของวงจรย่อยไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องเข้าถึงได้ทันที
(6) ตำแหน่งของเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องเป็นดังนี้
ก. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อย ต้องติดตั้ง ณ จุดที่ห่างจากสายป้อนที่จ่ายพลังงานให้เป็นระยะความยาวของสายไม่เกิน 3 เมตร
ข. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับสายป้อน ต้องติดตั้ง ณ จุดที่ใกล้กับหม้อแปลงหรือสายเมนที่จ่ายพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
(7) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องไม่ติดตั้งในสถานที่ซึ่งอาจเกิดความเสียหายได้และต้องไม่อยู่ใกล้กับวัตถุที่ติดไฟง่าย
(8) เครื่องป้องกันกระแสเกิน ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้อย่างมิดชิด แต่เฉพาะด้ามสับของสวิทช์อัตโนมัติยอมให้โผล่ออกมาข้างนอกได้ ยกเว้น หากติดตั้ง
ไว้ที่แผงสวิทช์หรือแผงควบคุม ซึ่งอยู่ในห้องที่ไม่มีวัตถุติดไฟง่ายและไม่มีความชื้นด้วย ส่วนเครื่องป้องกันกรแสเกิน สำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดไม่เกิน 50
แอมแปร์หนึ่งเฟสไม่ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้ก็ได้
(9) กล่องหรือตู้ซึ่งบรรจุเครื่องป้องกันกระแสเกิน ซึ่งติดตั้งในสถานที่เปียกหรือชื้นต้องเป็นชนิดซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้้วและต้องมีช่องว่างระหว่างตู้กับผนัง
หรือพื้นที่รองรับไม่น้อยกว่า มิลลิเมตร
(10) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องติดตั้งในที่ซึ่งสามารถปฎิบัติงานได้สะดวก มีที่ว่างและแสงสว่างอย่างพอเพียง
(11) ต้องทำเครื่องหมายระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและทนต่อสภาพแวดล้อม ติดไว้ที่เครื่องปลดวงจรหรือที่ใกล้เคียงเครื่องปลดวงจรนั้นทุกเครื่อง เช่น เครื่อง
ปลดวงจรของวงจรย่อย สายป้อนหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ยกเ้ว้น ตำแหน่งและการจัดเครื่องปลดวงจรนั้นชัดเจนอยู่แล้ว
5. สายเมนสายเมนที่จ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟรายหนึ่งๆ ต้องมีชุดเดียว นอกจากในกรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยแบ่งประเภทของสายเมนได้ดังนี้
(1) สายเมนอากาศสำหรับระบบแรงต่ำ ต้องเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้ โดยมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร สำหรับ
สายทองแดงและไม่เล็กกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร สำหรับสายอะลูมิเนียมและมีข้อกำหนดขนาดของสายเมนภายในคาร ตาม ตารางที่ 4-4
(2) สายเมนอาการสำหรับระบบแรงสูง เป็นสายเปลือยหรือสายหุ้มฉนวนก็ได้ และมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้
(3) สายเมนใต้ดินสำหรับระบบแรงต่ำ ต้องเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนชนิดที่เหมาะสมกับลักษณะการติดตั้งมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้และขนาด
ไม่เล็กกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร
(4) สายเมนใต้ดินสำหรับระบบแรงสูง ต้องเป็นสายหุ้มฉนวนชนิดที่เหมาะสมกับลักษณะการติดตั้งและมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้
6. เมนสวิทช์
ผู้ใช้ไฟต้องติดตั้งเมนสวิทช์ เพื่อปลดวงจรทุกวรจร ออกจากสายเมนได้ เมนสวิทช์จะประกอบด้วยเครื่องปลดวงจรและเครื่องป้องกันกระแสเกิน ซึ่งอาจติดตั้งเป็นส่วนร่วมอยู่ในเครื่ิองป้องกันกระแสเกินอาจมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปลดวงจรได้ด้วย
6.1 เครื่องปลดวงจรระบบแรงต่ำ
(1) เครื่องปลดวงจรชนิด 1 เฟส ขนาดตั้งแต่ 50 แอมแปร์ขึ้นไปและชนิด 3 เฟส ทุกขนาด ต้องเป็นแบบที่ปลด-สับได้ขณะมีโหลด
(2) เครื่องปลดวงจรต้องสามารถปลดวงจรทุกสายเส้นไฟได้พร้อมกันอย่างจงใจ
(3) ที่เครื่องปลดวงจรต้องสามารถมองเห็นได้ว่า อยู่ในตำแหน่งปลดหรือสับ
(4) เครื่องปลดวงจรต้องมีพิกัดไม่น้อยกว่าเครื่องป้องกันกระแสเกินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบ
(5) เครื่องปลดวงจรที่มีเครื่ีองห่อหุ้ม ต้องสามารถปลดวงจรได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเครื่องห่อหุ้ม
(6) เครื่องปลดวงจรจะติดตั้งภายในหรือภายนอกอาคารก็ได้ แต่ต้องเลือกชนิดให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และควรติดตั้งให้อยู่ใกลักับแหล่งจ่ายไฟและ
สามารถเข้าปฎิบัติงานได้สะดวก
(7) ห้ามต่อเครื่องอุปกรณ์ด้านไฟเข้าของเครื่องปลดวงจร ยกเว้น การต่อเข้าเครื่องวัด คาปาซิเตอร์ สัญญาณต่างๆ เพื่อใ้ช้ในวงจรควบคุมของเมนสวิทช์ ที่ต้อง
มีไฟเมื่อเครื่องปลดวงจรอยู่ในตำแหน่งปลด
6.2 เครื่องป้องกันกระแสเกินระบบแรงต่ำ
(1) เครื่องป้องกันกระแสเกินของเมนสวิทช์จะต่อออกจากเครื่องปลดวงจรของเมนสวิทช์
(2) ห้ามติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกิน ในสายเส้นที่มีการต่อลงดิน ยกเว้นเครื่องป้องกันกระแสเกินที่เป็นสวิทช์อัตโนมัติซึ่งมีการตัดวงจรเมื่อมีกระแสไหลเกิน
(3) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องมีความสามารถตัดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้และต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 10 กิโลแอมแปร์
(4) สวิทช์อัตโนมัติ ต้องเป็นชนิดที่ปลดได้โดยอิสระ (trip free) และต้องมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สวิทช์อยู่ในตำแหน่งใด
(5) เครื่องป้องกันกระแสเกินที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4.6.1 ให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องปลดวงจรได้
(6) การป้องกันกระแสเกิน ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในข้อ 4.4 สำหรับข้อที่นำมาใช้ด้วยได้
6.3 เครื่องปลดวงจรระบบแรงสูง
(1) เครื่องปลดวงจร ต้องสามารถปลดวงจรของผู้ใช้ไฟออกจากระบบจำหน่ายของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยติดตั้งในบริเวณที่ดินของผู้ใช้ไฟ ณ ตำแหน่งที่
ใกล้กับจุกแยกสายมากที่สุด ในกรณีที่มีอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเครื่องวัดแรงสูงที่ต้นทางให้ถือว่ามีเครื่องปลดวงจรแล้ว
(2) เครืองปลดวงจร ต้องปลดสายเส้นไฟทั้งหมดได้พร้อมกัน ยกเว้น ดรอปเอาท์ฟิวส์คัทเอาท์ ดิสคอนเนคติ้งสวิทช์
(3) กรณีที่เครื่องปลดวงจรเป็นชนิด fuse cutout ชนิด drop out ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าหรือโครงสร้างอื่น ที่ทำหน้าที่เฃ่นเดียวกับเสาไฟฟ้า ไม่บังคับให้ปลด
วงจรทุกสายเส้นไฟได้พร้อมกัน นอกจากจะมีกำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องนั้นๆ
(4) เครื่องปลดวงจรที่เป็นฟิวส์สวิทช์ หรือฟิวส์ประกอบต้องสามารถตัดกระแสลัดวงจรในขณะสับเครื่องปลดวงจรได้ โดยเครื่องปลดวงจรไม่ชำรุด
(5) เมนสวิทช์ต้องมีหรือเตรียมการต่อสายทางด้านไฟออกลงดินไว้ให้พร้อม เมื่อปลดโหลดออกจากแหล่งจ่ายไฟ
6.4 เครื่องป้องกันกระแสเกินระบบแรงสูง
(1) ในสายเส้นไฟทุกเส้น จะต้องติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกิน
(2) ถ้าใช้ฟิวส์ จะต้องมีค่ากระแสต่อเนื่องไม่เกิน 3 เท่า ของขนาดกระแสของตัวนำ
(3) ถ้าเป็นตัดตอนอัตโนมัติ (Circuit breaker) จะต้องมีขนาดปรับตั้งไม่เกิน 6 เท่าของขนาดกระแสของตัวนำ และมีคุณสมบัติดังนี้
ก. เป็นแบบปลดได้โดยอิสระ และสามารถปลด-สับ ได้ด้วยมือ
ข. สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าอยู่ในตำแหน่งปลดหรือสับ
ค. ถ้าเป็นแบบปรับตั้งค่ากระแสหรือเวลาได้ ต้องออกแบบให้กระทำได้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
ง. มีเครื่องหมายแสดงพิกัดต่างๆ ให้ชัดเจนและถาวร แม้หลังจากติดตั้งแล้ว
(4) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องสามารถทำงานสัมพันธ์กับอุปกรณ์ป้องกันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
1. วงจรย่อย
1.1 ขอบเขต
ให้ใช้เฉพาะกับวงจรแสงสว่างหรือเครื่องใ้ช้ไฟฟ้า หรือทั้ง 2 อย่าง รวมกันเท่านั้น
1.2 ข้อกำหนดของวงจรย่อย
(1) สายวงจรย่อยต้องมีขนาดเพียงพอที่จะจ่ายโหลด และมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.50 ตารางมิลลิเมตร
(2) วงจรย่อยทุกวงจรต้องมีเครื่องป้องกันกระแสเกิน เพื่อตัดวงจรเมื่อเกิดการลัดวงจรหรือใช้ไฟฟ้าเกินขนาด
(3) ขนาดของวงจรย่อยกำหนดตามขนาดมาตรฐานของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ป้องกันวงจรย่อยนั้นๆ เช่น 5 10 15 20 30 หรือ 50 แอมแปร์
(4) วงจรย่อยซึ่งมีจุดต่อทางไฟฟ้าตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปต้องมีโหลดดังต่อไปนี้
ก. วงจรย่อยขนาด 5 10 15 และ 20 แอมแปร์ โหลดที่ติดตั้งถาวรรวมกันแล้วจุต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของขนาดวงจรย่อย เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องใช้
ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบ โหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้เต้าเสียบแต่ละเครื่องจะต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย
ข. วงจรย่อยขนาด 30 แอมแปร์ ให้ใช้กับดวงโคมไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรขนาดชุดละไม่ต่ำกว่า 660 วัตต์ หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งไม่ใช่ดวงโคมโหลด
ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบแต่ละเครื่องจะต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย
ค. วงจรย่อยขนาด 40 และ 50 แอมแปร์ ให้ใช้กับดวงโคมไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรขนาดชุดละไม่ต่ำกว่า 660 วัตต์ หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร
(5) โหลดของวงจรย่อยต้องคำนวณตามที่กำหนดดังต่อไปนี้
ก. โหลดต่อเนื่องของวงจรย่อยต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย ยกเว้น ชุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ได้ออกแบบให้ใช้งานได้ร้อยละ
100 ยอมให้โหลดต่อเนื่อง ของวงจรย่อยใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของขนาดวงจรย่อย
2. สายป้อน
(1) สายป้อนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะจ่ายโหลดให้วงจรย่อยได้ไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดในวงจรย่อยและมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร
(2) การคำนวณขนาดของสายป้อน ให้ใช้ดีมานต์แฟคเตอร์ตาม ตารางที่ 4-1, ตารางที่ 4-2, และ ตารางที่ 4-3 ช่วยคำนวณ
(3) สำหรับเต้ารับใช้เฉพาะงาน ให้คิดโหลดจากขนาดของเต้ารับที่มีขนาดสูงสุด รวมกับร้อยละ 75 ของขนาดเต้ารับที่เหลือ
3. สายนิวตรอล
(1) ต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรับกระแสโหลดไม่สมดุลย์สูงสุดและกระแสอาร์โมนิกส์ได้
(2) ในระบบ 3 เฟส 4 สาย กระแสโหลดไม่สมดุลย์สูงสุด คำนวณจากผลรวมของโหลด 1 เฟส ที่ต่ออยู่ระหว่างสายนิวตรอลกับสายเฟสใดเฟสหนึ่ง ที่มีค่า
รวมกันมากที่สุด
(3) ยอมให้ลดส่วนของกระแสโหลดไม่สมดุลย์ที่เกิน 200 แอมป์ ร้อยละ 30 ยกเว้น ในกรณีที่โหลดเป็นหลอดชนิดปล่อยประจุ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง
ประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องอุปกรณ์อื่นที่คล้ายกันที่รับไฟจากระบบ 3 เฟส 4 สาย แบบวาย
4. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อยและสายป้อนวงจรย่อยและสายป้อนต้องมีการป้องกันแระแสเกินเครื่องป้องกันกระแสเกินมีรายละเอียด ดังนี้
(1) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องสามารถป้องกันตัวนำทุกสายเส้นไฟ ยกเว้น ตัวนำที่มีการต่อลงดิน
(2) ขนาดของเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องไม่่น้อยกว่าโหลดไม่ต่อเนื่องบวกด้วยร้อยละ 125 ของโหลดต่อเนื่อง และต้องมีขนาดไม่เกินขนาดกระแสของ
สายไฟฟ้าเป็นไปตาม ตารางที่ 6-2
(3) เครื่องป้องกันกระแสเกินอาจเป็นฟิวส์ หรือสวิทช์อัตโนมัติก็ได้
(4) ฟิวส์ สวิทช์อัตโนมัติหรือการผสมของทั้งสองอย่างนี้ จะนำมาต่อขนานกันไม่ได้ ยกเว้น เป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐานที่ประกอบสำเร็จมาจากโรงงานผู้ผลิต
และเป็นแบบที่ได้รับความเห็นชอบว่าเป็นหน่วย (Unit) เดียวกัน
(5) ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกินเพิ่มเติมสำหรับดวงโคมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออื่นๆ เครื่องป้องกันกระแสเกินเพิ่มเติมเหล่านี้จะใช้แทนเครื่องป้องกัน
กระแสเกินของวงจรย่อยไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องเข้าถึงได้ทันที
(6) ตำแหน่งของเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องเป็นดังนี้
ก. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อย ต้องติดตั้ง ณ จุดที่ห่างจากสายป้อนที่จ่ายพลังงานให้เป็นระยะความยาวของสายไม่เกิน 3 เมตร
ข. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับสายป้อน ต้องติดตั้ง ณ จุดที่ใกล้กับหม้อแปลงหรือสายเมนที่จ่ายพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
(7) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องไม่ติดตั้งในสถานที่ซึ่งอาจเกิดความเสียหายได้และต้องไม่อยู่ใกล้กับวัตถุที่ติดไฟง่าย
(8) เครื่องป้องกันกระแสเกิน ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้อย่างมิดชิด แต่เฉพาะด้ามสับของสวิทช์อัตโนมัติยอมให้โผล่ออกมาข้างนอกได้ ยกเว้น หากติดตั้ง
ไว้ที่แผงสวิทช์หรือแผงควบคุม ซึ่งอยู่ในห้องที่ไม่มีวัตถุติดไฟง่ายและไม่มีความชื้นด้วย ส่วนเครื่องป้องกันกรแสเกิน สำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดไม่เกิน 50
แอมแปร์หนึ่งเฟสไม่ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้ก็ได้
(9) กล่องหรือตู้ซึ่งบรรจุเครื่องป้องกันกระแสเกิน ซึ่งติดตั้งในสถานที่เปียกหรือชื้นต้องเป็นชนิดซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้้วและต้องมีช่องว่างระหว่างตู้กับผนัง
หรือพื้นที่รองรับไม่น้อยกว่า มิลลิเมตร
(10) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องติดตั้งในที่ซึ่งสามารถปฎิบัติงานได้สะดวก มีที่ว่างและแสงสว่างอย่างพอเพียง
(11) ต้องทำเครื่องหมายระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและทนต่อสภาพแวดล้อม ติดไว้ที่เครื่องปลดวงจรหรือที่ใกล้เคียงเครื่องปลดวงจรนั้นทุกเครื่อง เช่น เครื่อง
ปลดวงจรของวงจรย่อย สายป้อนหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ยกเ้ว้น ตำแหน่งและการจัดเครื่องปลดวงจรนั้นชัดเจนอยู่แล้ว
5. สายเมนสายเมนที่จ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟรายหนึ่งๆ ต้องมีชุดเดียว นอกจากในกรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยแบ่งประเภทของสายเมนได้ดังนี้
(1) สายเมนอากาศสำหรับระบบแรงต่ำ ต้องเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้ โดยมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร สำหรับ
สายทองแดงและไม่เล็กกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร สำหรับสายอะลูมิเนียมและมีข้อกำหนดขนาดของสายเมนภายในคาร ตาม ตารางที่ 4-4
(2) สายเมนอาการสำหรับระบบแรงสูง เป็นสายเปลือยหรือสายหุ้มฉนวนก็ได้ และมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้
(3) สายเมนใต้ดินสำหรับระบบแรงต่ำ ต้องเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนชนิดที่เหมาะสมกับลักษณะการติดตั้งมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้และขนาด
ไม่เล็กกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร
(4) สายเมนใต้ดินสำหรับระบบแรงสูง ต้องเป็นสายหุ้มฉนวนชนิดที่เหมาะสมกับลักษณะการติดตั้งและมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้
6. เมนสวิทช์
ผู้ใช้ไฟต้องติดตั้งเมนสวิทช์ เพื่อปลดวงจรทุกวรจร ออกจากสายเมนได้ เมนสวิทช์จะประกอบด้วยเครื่องปลดวงจรและเครื่องป้องกันกระแสเกิน ซึ่งอาจติดตั้งเป็นส่วนร่วมอยู่ในเครื่ิองป้องกันกระแสเกินอาจมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปลดวงจรได้ด้วย
6.1 เครื่องปลดวงจรระบบแรงต่ำ
(1) เครื่องปลดวงจรชนิด 1 เฟส ขนาดตั้งแต่ 50 แอมแปร์ขึ้นไปและชนิด 3 เฟส ทุกขนาด ต้องเป็นแบบที่ปลด-สับได้ขณะมีโหลด
(2) เครื่องปลดวงจรต้องสามารถปลดวงจรทุกสายเส้นไฟได้พร้อมกันอย่างจงใจ
(3) ที่เครื่องปลดวงจรต้องสามารถมองเห็นได้ว่า อยู่ในตำแหน่งปลดหรือสับ
(4) เครื่องปลดวงจรต้องมีพิกัดไม่น้อยกว่าเครื่องป้องกันกระแสเกินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบ
(5) เครื่องปลดวงจรที่มีเครื่ีองห่อหุ้ม ต้องสามารถปลดวงจรได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเครื่องห่อหุ้ม
(6) เครื่องปลดวงจรจะติดตั้งภายในหรือภายนอกอาคารก็ได้ แต่ต้องเลือกชนิดให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และควรติดตั้งให้อยู่ใกลักับแหล่งจ่ายไฟและ
สามารถเข้าปฎิบัติงานได้สะดวก
(7) ห้ามต่อเครื่องอุปกรณ์ด้านไฟเข้าของเครื่องปลดวงจร ยกเว้น การต่อเข้าเครื่องวัด คาปาซิเตอร์ สัญญาณต่างๆ เพื่อใ้ช้ในวงจรควบคุมของเมนสวิทช์ ที่ต้อง
มีไฟเมื่อเครื่องปลดวงจรอยู่ในตำแหน่งปลด
6.2 เครื่องป้องกันกระแสเกินระบบแรงต่ำ
(1) เครื่องป้องกันกระแสเกินของเมนสวิทช์จะต่อออกจากเครื่องปลดวงจรของเมนสวิทช์
(2) ห้ามติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกิน ในสายเส้นที่มีการต่อลงดิน ยกเว้นเครื่องป้องกันกระแสเกินที่เป็นสวิทช์อัตโนมัติซึ่งมีการตัดวงจรเมื่อมีกระแสไหลเกิน
(3) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องมีความสามารถตัดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้และต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 10 กิโลแอมแปร์
(4) สวิทช์อัตโนมัติ ต้องเป็นชนิดที่ปลดได้โดยอิสระ (trip free) และต้องมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สวิทช์อยู่ในตำแหน่งใด
(5) เครื่องป้องกันกระแสเกินที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4.6.1 ให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องปลดวงจรได้
(6) การป้องกันกระแสเกิน ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในข้อ 4.4 สำหรับข้อที่นำมาใช้ด้วยได้
6.3 เครื่องปลดวงจรระบบแรงสูง
(1) เครื่องปลดวงจร ต้องสามารถปลดวงจรของผู้ใช้ไฟออกจากระบบจำหน่ายของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยติดตั้งในบริเวณที่ดินของผู้ใช้ไฟ ณ ตำแหน่งที่
ใกล้กับจุกแยกสายมากที่สุด ในกรณีที่มีอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเครื่องวัดแรงสูงที่ต้นทางให้ถือว่ามีเครื่องปลดวงจรแล้ว
(2) เครืองปลดวงจร ต้องปลดสายเส้นไฟทั้งหมดได้พร้อมกัน ยกเว้น ดรอปเอาท์ฟิวส์คัทเอาท์ ดิสคอนเนคติ้งสวิทช์
(3) กรณีที่เครื่องปลดวงจรเป็นชนิด fuse cutout ชนิด drop out ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าหรือโครงสร้างอื่น ที่ทำหน้าที่เฃ่นเดียวกับเสาไฟฟ้า ไม่บังคับให้ปลด
วงจรทุกสายเส้นไฟได้พร้อมกัน นอกจากจะมีกำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องนั้นๆ
(4) เครื่องปลดวงจรที่เป็นฟิวส์สวิทช์ หรือฟิวส์ประกอบต้องสามารถตัดกระแสลัดวงจรในขณะสับเครื่องปลดวงจรได้ โดยเครื่องปลดวงจรไม่ชำรุด
(5) เมนสวิทช์ต้องมีหรือเตรียมการต่อสายทางด้านไฟออกลงดินไว้ให้พร้อม เมื่อปลดโหลดออกจากแหล่งจ่ายไฟ
6.4 เครื่องป้องกันกระแสเกินระบบแรงสูง
(1) ในสายเส้นไฟทุกเส้น จะต้องติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกิน
(2) ถ้าใช้ฟิวส์ จะต้องมีค่ากระแสต่อเนื่องไม่เกิน 3 เท่า ของขนาดกระแสของตัวนำ
(3) ถ้าเป็นตัดตอนอัตโนมัติ (Circuit breaker) จะต้องมีขนาดปรับตั้งไม่เกิน 6 เท่าของขนาดกระแสของตัวนำ และมีคุณสมบัติดังนี้
ก. เป็นแบบปลดได้โดยอิสระ และสามารถปลด-สับ ได้ด้วยมือ
ข. สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าอยู่ในตำแหน่งปลดหรือสับ
ค. ถ้าเป็นแบบปรับตั้งค่ากระแสหรือเวลาได้ ต้องออกแบบให้กระทำได้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
ง. มีเครื่องหมายแสดงพิกัดต่างๆ ให้ชัดเจนและถาวร แม้หลังจากติดตั้งแล้ว
(4) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องสามารถทำงานสัมพันธ์กับอุปกรณ์ป้องกันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)